เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้ดู TV ซึ่งก็เป็นไปตามประสา Remote Controlism คือ กดรีโมทไปเรื่อยๆ หยุดดูนั่นนิดนี่หน่อย ตามความน่าสนใจที่สะดุดตา จึงไม่สามารถจำได้ถนัดชัดเจนในการอ้างอิงได้ว่า เป็นรายการอะไร ช่องไหน
รายการที่ดูเป็นการสัมภาษณ์ ผู้บริหารของบริษัท สิงห์คอร์ปอเรชั่น จำกัด คุณปิติ ภิรมย์ภักดี (นัยว่าเป็นผู้บริหารรุ่นที่ 4 ของตระกูล)
คำตอบที่น่าสนใจของคุณปิติ ที่พิธีกรถามว่า ทำอย่างไรในการพัฒนาองค์กรให้อยู่รอดมาได้ และยังสามารถเจริญรุ่งเรือง ครองส่วนแบ่งทางการตลาดไว้ได้เป็นลำดับหนึ่งอยู่ (ทำนองนี้แหละ) คือ
การเปลี่ยนแนวความคิดจากคำว่า ครับนาย มาเป็น นายครับ
โดยคุณปิติให้คำอธิบายว่า วัฒนธรรมองค์กรประเภท ครับนาย นั้น ลูกน้องไม่ต้องคิดอะไร เพียงแค่ทำตามที่นายคิด นายสั่ง ก็พอ แต่ลูกน้องที่จะกล้าหาญท้วงนาย หรือให้ข้อแนะนำกับนาย ด้วยการเริ่มว่า นายครับ นั้น จะเป็นทีมงานที่มีความริเริ่มในการคิดพัฒนาองค์กร ไม่ยึดติดอยู่กับการเอาใจนายเพียงถ่ายเดียว
(อันที่จริง ผู้เขียนเองไม่ค่อยชอบใช้คำว่า นาย กับ ลูกน้อง ด้วยรู้สึกว่ามันห่างเหินจากการทำงานเป็นทีมอย่างไรอยู่ แต่ก็เพื่อการเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนถึงแนวคิดดังกล่าว)
ลูกน้องที่จะกล้าพูดว่า นายครับ ไม่ได้อยู่ที่ ลูกน้อง แต่อยู่ที่ นาย
จะอย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็มี ลูกน้อง และเป็น นาย
แม้จะ ละเมอ ต้องการลูกน้องประเภท นายครับ มากกว่า ครับนาย
จะอย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็มี นาย และเป็น ลูกน้อง
แต่ก็ยังพอเข้าใจความรู้สึกของ ลูกน้อง อยู่ อิ อิ
2 ความคิดเห็น:
"นายครับ" เป็นสัญญาณของผู้เป็นนายได้เปิด"กล่องคิด"ให้คิดร่วมกัน ทำให้หลายท่านต้องการพูดว่า "นายครับ" มากขึ้น แต่ก็เป็นจุดอับตรงที่ว่า “พื้นที่ไกลปืนเที่ยง” ต้องการจะเอยว่า "นายครับ" ให้นายได้ยินได้อย่างไร? จึงขอแสดงความคิดเห็นว่าเพื่อเปิดโอกาสให้ "เจ้าหน้าที่" ในระดับ สอ.ได้มีโอกาสได้พูด “เท่าเทียมกัน” ควรสนับสนุนให้ทุก สอ.มี website เป็นของตัวเองโดยใช้รหัส สอ.เป็น login อาศัย site Google.com ก็น่าจะได้จนครบทุกแห่ง และในอนาคตอาจจะมีการนิเทศงานและสื่อสารผ่าน website ซึ่งสามารถลดงบประมาณการนิเทศได้ ตลอดจนเพิ่มช่องทางรับฟังคำว่า"นายครับ" มากขึ้น...คงเป็นการดี "ครับนาย"(รายละเอียดคงต้องชี้แจงกันยาว)
น่าสนใจ
แต่แค่เปิดเว็บไซต์
ไยต้องรอ นายสั่ง
อิอิ
แสดงความคิดเห็น